Tuesday, December 16, 2014

36 กลยุทธ์ตำราพิชัยสงครามซุนวู


ช่วงนี้อ่านนิยายจีนบ่อย บางครั้งเจอสำนวนหรือคำในหลายๆ เรื่องซ้ำๆกัน พอดีกับมาเจอกลยุทธ์ฉบับย่อของซุนวูจึงถึงบางอ้อว่า ที่แท้พฤติกรรมบางอย่างของตัวละครในนิยาย (และในชีวิตจริง) ก็สามารถอธิบายได้ด้วยกลยุทธ์ซุนวูนี่เอง


กลยุทธ์ชนะศึก

กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล ความหมายคือ (ข้าศึก)คิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมแล้ว จึงมักจะประมาท
กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลัง ควรจะใช้อุบายดึงแยกข้าศึกกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง
กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน ความหมายชัดเจนมาก คือยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู
กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ก็เป็นช่องให้เราพิชิตได้(ง่าย)
กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ นั่นคือ เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี
กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม กลยุทธ์นี้คือ การหลอกลวง...เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ


กลยุทธ์เผชิญศึก

กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึกเพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง
กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง หมายถึง ใช้โอกาสที่ข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจ
กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้การเปลี่ยนแปลงของข้าศึกมาเป็นประโยชน์ของตัวเอง
กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม ประมาณว่า "ใช้ความสงบสยบเคลื่อนไหว"
กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์นี้หมายถึง ยอมเสีย“มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” คือจำต้องเสียสละส่วนน้อย เพื่อชัยชนะส่วนใหญ่
กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ กลยุทธ์นี้ก็คือ แม้ข้าศึกเลินเล่อเพียงเล็กน้อย ก็ต้องฉกฉวยผลประโยชน์มาให้ได้ แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย

กลยุทธ์เข้าตี

กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(หรือ"แหวกหญ้าให้งูตื่น") เป็นกลยุทธ์การส่งคนสอดแนมให้รู้ชัดและกุมสภาพก่อนเคลื่อนทัพ หรือ“สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน”
กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ มีความหมายว่า อย่าใช้ผู้มีความสามารถอย่างผลีผลาม และผู้ที่ไร้ความสามารถก็อย่ามองข้ามเมื่อมาขอความช่วยเหลือ
กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ เป็นกลยุทธ์ดึงข้าศึกออกมาจากที่มั่น
กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ กลยุทธ์นี้ เพื่อลดความฮึกเหิมของข้าศึก โดยเลี่ยงการบีบคั้นเพื่อป้องกัน"สุนัขจนตรอก"
กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก ความถึง ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงแต่ไร้ค่าไปล่อข้าศึก หรือ“ล่อด้วยประโยชน์”
กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้คือ เมื่อจะต้องตีข้าศึก ก็ต้องจับ"หัวหน้า"เพื่อสลายพลังของข้าศึก


กลยุทธ์ติดพัน

กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ กลยุทธ์นี้มีบอกว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกับข้าศึกแล้วด้อยกว่า ก็ต้องหาทางลดกำลังของข้าศึกลง
กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ข้าศึกปั่นป่วนในกองทัพของตัวเอง โดยถือหลัก“เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน”
กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ กลยุทธ์นี้หมายถึง รักษาแนวรบเยี่ยงเดิมให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า หรือการ"ลวง"ฝ่ายตรงข้าม
กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อข้าศึกอ่อนกำลัง แล้วโอบล้อทำลายเสีย เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง
กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้ กลยุทธ์นี้หมายถึง เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อมก็ต้องตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว โดยไม่เป็นศัตรูกับข้าศึกที่อยู่ไกล
กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล หมายความว่า หากเป็นประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่ ก็ต้องทำยอมสยบเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ

กลยุทธ์ร่วมรบ
 
กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา กลยุทธ์นี้หมายถึง การดึงกำลังสำคัญของฝ่ายตรงข้ามมาเป็นของเรา โดยควบคุมให้อยู่ใต้การบังคับบัญชา
กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว กลยุทธ์นี้ก็คือ “แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ”
กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า เป็นกลยุทธ์ที่แกล้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว ไม่ทำอะไรบุ่มบ่าม
กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้
กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก หมายถึง ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อทำให้เราดูใหญ่โต
กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน เป็นกลยุทธ์ แทรกเข้ากุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่าย

กลยุทธ์ยามพ่าย

กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม
กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง กลยุทธ์นี้หมายความว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” หรือ“กลวงยิ่งทำกลวง” เพื่อลวงข้าศึก
กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก เป็นกลยุทธ์ที่ซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกร้าวฉาน ระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน
กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย กลยุทธ์นี้ คือการทำร้ายตัวเองให้บาดเจ็บเพื่อให้ศัตรูเชื่อ
กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่ ใช้เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่าจึงไม่สามารถปะทะด้วย จึงใช้อุบายให้ศัตรูถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน
กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์ นี่คือสุดยอดกลยุทธ์ โดยจำให้แม่นว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ทำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก

Credit: http://www.suara-ampera.com